LFPTH : ลาลีก้า สเปน ลีกอันดับหนึ่งของวงการลูกหนัง

ตอนนี้ทางบล็อคได้ทำการ เปลี่ยนระบบ comment จากของ blogger เป็นระบบ disqus.... อ่านรายละอียดเพิ่มเติม (คลิ๊ก)

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

เขารักของเขา...

สิงโต สัญลักษณ์ของสโมสร แอธ บิลเบา อยู่ข้างหน้าภาพฮีโร่ในอดีตของสโมสร

 
ชาวบาสก์เขามีวัฒนธรรม มีภาษาเป็นของตนเอง พวกเขาต่อสู้เพื่อแคว้นมาเป็นเวลายาวนาน แต่วันนี้ขอไม่ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้นละกัน เอาเป็นว่าชาวบาสก์เป็นกลุ่มคนที่อนุรักษ์นิยม วัฒนธรรมเป็นของตัวเอง เขาภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา พวกเขาคิดว่าพวกเขาเป็นประเทศ สามารถปกครองตัวเองได้ จนบางครั้งมันอาจจะมากเกิน ทำให้เกิดความแบ่งแยก ซึ่งวันนี้เราก็จะไม่พูดถึงเรื่องนั้นเหมือนกัน แต่ที่ผมเกริ่นมา ผมก็คิดว่าคุณๆผู้อ่านก็พอเข้าใจสิ่งที่ผมพยายามจะสื่อ

วงการลูกนังทุกวันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องในสนามฟุตบอล ทุกวันนีขยับนิดขยับหน่อยก็ธุรกิจ วันนี้ผมขอมาพูดเกี่ยวกับสโมสรๆหนึ่งในสเปน ซึ่งเล่นฟุตบอล โดยไม่เห็นถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลัก แต่กลับเป็นวัฒนธรรม สายเลือด เล่นฟุตบอลเป็นตัวแทนของแฟนๆ ทีมนี้ที่ผมจะมาพูดถึงในวันนีก็คือทีมจากแคว้นบาสก์ หลายๆคนคงเดาออกตั้งแต่แรกแล้ว ทีมนั้นคือ แอธเลติก บิลเบา

ชาวบาสก์ ออกมาชุมนุม และ ชูธงซึ่งสัญลักษณ์ของแคว้น


แอธเลติก บิลเบา มีระบบเยาวชน และ นโยบายทางการบริหารที่ขึ้นชื่อมากๆ พวกเขามีนโยบายง่ายๆ “Con cantera y afición, no hace falta importación.” หรือ… ด้วยแรงสนับสนุนจากแฟนๆท้องถิ่น เราไม่ต้องการสินค้านำเข้า….

เขาจะใช้นักเตะที่เป็นชาวบาสก์โดยกำเนิดเท่านั้น ไม่มีข้อแม้ และนักเตะเหล่านั้นก็ต้องผ่านการอบรมจากระบบเยาวชนของทีมด้วย

น่าเห็นใจผู้จัดการทีมนะครับ คงทำงานยากน่าดู การที่ไม่สามารถหยิบซื้อผู้เล่นต่างชาติ ที่มีผู้เล่นที่มีความสามารถที่จะมาเสริมตกแต่งให้กับสโมสรได้มากมาย แต่กลับต้องมาเลือกใช้จากกลุ่มคนชาวบาสก์ซึ่งมีจำนวนเพียง 3 ล้านคน เล่นบอลเป็นกี่คนยังไม่นับ… ถ้ายังไม่เชื่อว่ามันน่าลำบาก ก็ลองเลือกเล่น บิลเบา ใน Football Manager ก็ได้…

นอกจากนี้ผู้คนหลายๆคนอาจจะคิดว่า การที่ไม่สามารถซื้อนักเตะข้างนอกมาได้ อาจจะทำให้สตาร์ท้องถิ่นอย่าง ยอร์เรนเต้, หรือ เยสเต้ ขาดคู่แข่งในการแย่งตำแหน่ง และอาจจะทำให้ทีมเฉื่อย…. แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ มันกลับตรงกันข้าม ผู้เล่นชาวบาสก์เหล่านี้เมื่ออยู่ภายใต้เสื้อสโมสร เช่นเดียวกับชาวบาสก์ทั้งหลาย พร้อมต่อสู้ พร้อมแลกเลือด แลกหยาดเหงื่อ เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของสโมสร แม้ว่าผู้จัดการทีมอาจจะปวดหัวเรื่องไม่สามารถซื้อคนที่ตัวเองต้องการได้…. แต่สิ่งที่เขาได้แทน คือผู้เล่นที่พร้อมที่จะให้สโมสรเท่าที่ตนจะให้ได้

นโยบายนี้มันเหมือนจะเป็น ประเพณี มากกว่าเป็น กฎเกณฑ์ เพราะมันไม่ได้มีอะไรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตาม แฟนๆเห็นว่านโยบายนี้เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวที่สำคัญและเก่าแก่ของสโมสร ถือเป็นสิ่งที่พวกเขาภูมิใจ

มันอาจจะยังมีเครื่องหมายคำถาม ถึงผลงานของสโมสร ภายใต้นโยบายนี้…. แอธเลติก บิลเบา เป็นหนึ่งในเพียงสามทีม ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลสเปน ที่ยังไม่เคยตกลงไปเล่นในดิวิชั่นต่ำกว่าลีกสูงสุด อีกสองทีมคงไม่ต้องบอกว่าเป็นทีมอะไร มันถือว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อมากที่ บิลเบา ยังสามารถอยู่ เล่นฟุตบอลในระดับสูงสุดได้อยู่ เป็นระยะเวลานานถึงขนาดนี้

แต่ถึงจะสามารถอยู่รอดได้ในดิวิชั่นสูงสุด แต่ แอธเลติก บิลเบา ก็ไม่ได้แชมป์ลีกมาตั้งแต่ปี 1984….มันจึงเกิดคำถามว่า นโยบาย นี้…มันส่งผลดีหรือไม่กับสโมสร… เพราะบางที การตัดสินใจบางอย่าง จะได้บางอย่างอาจจะต้องเสียอย่าง ถ้าหากเขาอยากประสบความสำเร็จ บางครั้ง พวกเขาอาจจะต้องเสียสละอะไรบางอย่าง เพื่อแลกกับความสำเร็จและความมั่นคงในอนาคต…. แต่ความคิดแบบนี้กลับไม่อยู่ในหัวชาว บาสก์ แม้แต่นิดเดียว

ในปี 2006 พวกเขาเกือบจะตกชั้นอยู่แล้วเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต้องลุ้นถึงนัดสุดท้ายของฤดูกาล ก่อนที่จะเอาตัวรอดได้ หลังจาก เดปอ ดันไปตกม้าตายแพ้ในนัดสุดท้าย ทำให้ยังรอดอยู่ สำหรับแฟนๆที่ไม่ใช่ชาวบาสก์อาจจะมองว่านโยบายอะไรแบบนี้เป็นสิ่งที่ล้าสมัย และมันเป็นสิ่งเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทีมประสบความสำเร็จทั้งในด้านการกีฬาและด้านธุรกิจเท่าที่ควร คำถามที่ตามมาคือพวกเขาสามารถอยู่รอดได้จริงอยู่ แต่การอยู่อย่างไรความสำเร็จมันพอแล้วหรอ… แต่หลังจากมีเสียงสะท้อน มีกระแสจะเอานโยบายนี้ออก ทุกครั้งก็จะมีเสียงจากพวกนักเตะเก่าๆ แฟนๆท้องถิ่นออกมาโจมตีความคิดนี้ และสุดท้าย แผนการล้มล้างนโยบายก็ถูกล้มเลิกไปทุกครั้งไป และมันก็เหมือนว่าความคิดนี้มันคงจะยังอยู่ไปอีกนาน



El Mundo หนังสือพิมพ์ชื่อดัง เคยได้ทำโพลล์ตรวจสอบความคิดเห็น ซึ่งผลก็ออกมาตอกย้ำว่า แฟนๆกว่า 80% เห็นว่า พวกเขายอมที่จะเห็นทีมรักตกชั้น ดีซะกว่าล้มเลิกนโยบายที่เป็นสิ่งที่พวกเขายึดมั่น และ ภูมิใจมาอย่างยาวนาน

ถึงแม้ว่าช่วงหลังๆทีมจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ผลงานช่วงหลังๆ ถือว่าทำผลงานได้ดีเกินคาด เวลานี้ยึดที่ 7 ในตารางฟุตบอลลาลีก้า เล่น 15 นัดเก็บไป 26 คะแนน ฤดูกาลก่อนสามารถเข้าชิง โก ปา เดลเรย์ ครั้งแรกในรอบ 24 ปี ทั้งๆที่เป็นเจ้าของแชมป์มากสุดเป็นอันดับสอง (เป็นรองบาร์ซ่าเพียงสมัยเดียว)

….แน่นอน…เมื่อทีมสามารถเล่นได้ดี ระบบเยาวชนของสโมสรก็ได้รับคำชมกันหน้าบาน โครงสร้างสโมสรแบบนี้ ระบบเยาวชนเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการอยู่รอด และ ผลงานโดยรวมของทีม และในช่วงหลังๆ ถือว่าเยาวชนที่นี่สามารถผลิตนักเตะที่น่าสนใจๆออกมาได้ไม่หยุดหย่อน อย่างรายล่าสุด… อีเคร์ มูเนียอิน ที่หลังขึ้นชุดใหญ่มาไม่นาน ก็ทำลายสถิติต่างๆเป็นว่าเล่น หรือล่าสุดกว่านั้นเจ้าหนู รามาลโย่ ที่กำลังจ่อคิวขึ้นตามรอยมูเนียอินอดีตเพื่อนร่วมทีมเยาวชนขึ้นชุดใหญ่เร็วๆนี้

หนูน้อย มูเนียอิน


พวกเขาเชื่อว่า หากพวกเขาเชื่อในระบบเยาวชน และให้โอกาสอย่างเต็มที่ แทนที่จะเอาเงินไปซื้อนักเตะ สู้เอาเงินเหล่านั้นมาส่งเสริมบุคลากรในบริเวณนั้นจะดีกว่า ถือเป็นโครงสร้างสโมสรที่สร้างไว้บนฐานของนักเตะเยาวชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง แต่มันจะเกินไปไหม? เป็นวิถีทางที่ดีที่สุดรึเปล่า? หรือมันควรจะเป็นตัวอย่างสำหรับสโมสรอื่นๆให้ควรเอาแบบอย่างบ้าง? ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไร....

“Con cantera y afición, no hace falta importación.”
...พวกเขา... เชื่ออย่างนั้น…
blog comments powered by Disqus
ติดต่อ โฆษนา แนะนำ สอบถาม ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ได้ที่
 
Web Analytics