LFPTH : ลาลีก้า สเปน ลีกอันดับหนึ่งของวงการลูกหนัง

ตอนนี้ทางบล็อคได้ทำการ เปลี่ยนระบบ comment จากของ blogger เป็นระบบ disqus.... อ่านรายละอียดเพิ่มเติม (คลิ๊ก)

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ลาก่อน... Beckham law...

(กฏที่หน้าตาดีที่สุดในโลก)



กำลังจะเข้าปีใหม่ในอีกไม่ช้าแล้ว ปี 2009 ก็จะผ่านไป อะไรหลายๆอย่างก็คงเปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลา สำหรับปี 2010 สิ่งแรกที่เปลี่ยนในสเปนก็คงเป็นเรื่องของกฏหมายเกี่ยวกับภาษีรายรับของชาวต่างชาติ

กฏนี้กำกับไว้ (ประมาณ) ว่าหากมีต่างชาติเข้ามาในสเปน และ มีรายรับมากกว่าหรือเท่ากับ 600,000 ยูโรต่อปี ก็จะได้สิทธิพิเศษในการเสียภาษี โดยจากเดิมที่ชาวสเปนธรรมดาเขาเสียกันอยู่ที่ 43% ชาวต่างประเทศร่ำรวยพวกนี้ก็จะเสียเพียงแค่ 24% ภายหลังกฏนี้ได้ถูกเรียกกันว่า "Beckham law" หลังจากดาวเตะชาวอังกฤษชื่อดังย้ายเข้าร่วมทีม เรอัล มาดริด และเป็นผู้คนแรกๆที่เข้ารับผลจากกฏนี้

ทีแรกกฏนี้จุดประสงค์หลักคือเป็นการส่งเสริมให้มี นักวิทยาศาสตร์, นักธุรกิจ, และอื่นๆเพื่อช่วยบริษัทในสเปนแบ่งเบาเงินค่าจ้าง แต่ไปๆมาๆ กลับกลายเป็นพวกนักกีฬาโดยเฉพาะนักฟุตบอล ที่ได้รับผลประโยชน์มากๆจากการกฏนี้

เมื่อมีข่าวออกมาว่าจะล้มเลิกกฏนี้ พวกสโมสรในสเปน หรือ LFP(ลาลีก้า) ก็ออกมาแสดงท่าทีต่อต้าน ตอนแรกถึงกับจากประท้วงเลิกเตะกันไปเลย พวกเขาอ้างว่าหากกฏนี้ล้มเลิกไป มันจะส่งผลในระยะยาวต่อฟุตบอลในสเปนอย่างแน่นอน ผู้เล่นคุณภาพต่างชาติก็คงไม่อยากจะมาสเปน คุณภาพของลีกก็จะต่ำลง และ ฝีเท้าของนักเตะสเปนก็จะไม่พัฒนาเท่าที่ควร

พวกเขาอ้างความสำเร็จภายหลัง "Beckham law" ถูกนำมาใช้ว่าสเปนกลายเป็นประเทศแนวหน้าในวงการฟุตบอลยุโรปอย่างแท้จริง สามารถการันตีได้จากรางวัลต่างๆไม่ว่าจะเป็นการที่ บาร์เซโลน่าได้ยูฟ่าแชมป์เปี่ยนส์ลีก 2สมัย, เซบีย่าก็ได้แชมป์ยูฟ่าคัพ(ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ยูโรป้า ลีก)อีก 2สมัย, ส่วนทีมชาติสเปนก็ได้แชมป์ ยูโร....หากมองแง่ความสำเร็จถือว่าน่าพอใจเป็นอย่างมาก...

แต่ถึงแม้สโมสรต่างๆจะอ้างแบบนี้ ในความเป็นจริงแล้ว ถึงกฏหมายเปลี่ยน มันไม่ใช่ตัวผู้เล่นหรอกที่จะไม่อยากมา แต่มันจะเป็นสโมสรเองแหละที่ไม่อยากซื้อเข้ามา เพราะเวลาเราเซ็นสัญญากันในสเปน เขาจะเซ็นค่าจ้างในตัวเลขที่ได้ หักภาษีเรียบร้อยแล้ว! (สโมสรจ่ายค่าภาษี) เพราะฉะนั้นมันไม่เกี่ยวกับผู้เล่นจะอยากมาหรือไม่อยากมาเลยในเรื่องของภาษี ถึงภาษีมัน 80% หรือ 10% ถ้าสโมสรจ่ายให้เท่ากัน คำตอบของผู้เล่นก็คงเหมือนกัน

เพราฉะนั้นเวลาที่สโมสรต่างๆพูดว่า การที่ยกเลิกกฏนี้มันจะส่งผลให้นักเตะไม่อยากมา จริงๆแล้วพวกเขาพยายามบอกว่า "พวกเขาต้องจ่ายตังมากขึ้น" มากกว่า เพราะฉะนั้นรายรับของสโมสรเกือบทุกสโมสรในสเปน (ยกเว้นทีมเล็กๆที่ค่าเหนื่อยนักเตะไม่ถึงปีละ 600,000ยูโร และ แอธเลติก บิลเบาที่มีแต่ผู้เล่นในแคว้น)จะว่ากันตรงๆ ทีมที่น่าจะได้รับผลสะท้อนมากที่สุดก็น่าจะเป็นพวกทีมในระดับกลางๆ แบบว่าไม่รวยมาก แต่ก็พยุงตัวอยู่ได้ เมื่อกฏโดนยกเลิกเข้าไปคงพูดไม่ออกกันเป็นแถบ ส่วนพวกสโมสรที่รวยและมั่นคงก็คงอยู่ได้ แค่อาจจะเสียกำไร หรือ อำนาจการซื้อและต่อรองไปพอสมควร

สำหรับคนสเปน เสียงเห็นด้วยกับการเอากฏ "Beckham law" ออกไปมีถึง 88% จากการทำการสำรวจของสถานีวิทยุ Candena SER ก็ชัดเจนว่า มาทำงานในบ้านพวกเขา แล้วยังเอาเปรียบพวกเขาอีก ใครจะชอบหล่ะ...(ถึงแม้จะชอบดูสตาร์ฟุตบอลก็ตาม)

ทั้งนี้คอนเซปง่ายๆคือ สโมสร รัฐบาล ต่างมีเป้าหมายเดียวเท่านั้น คือทำเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้กับสถาบันตัวเอง

โดยกฏนี้จะถึงดึงออกทันทีเมื่อขึ้นปีใหม่ นั่นคือตั้งแต่ 1 มกรา 2010 เป็นต้นไป เป็นการต้อนรับปีใหม่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป หากมีการเซ็นสัญญานักฟุตบอลที่มีค่าจ้างมากกว่า 600,000 ยูโรต่อปี สโมสรต้องจ่ายภาษี 43% เท่ากับประชากรชาวสเปนทั่วไปให้นักเตะเหล่านั้น เพราะฉะนั้นพวกที่ย้ายมาก่อนหน้านี้ก็จะไม่มีผลใช้งาน สโมสรก็จ่าย 24% เหมือนเดิม เพราะเส้นตายนี้สโมสรที่สนใจนักเตะต่างชาติคงต้องรีบๆจัดการซื้อตัวอะไรให้เสร็จก่อนวันที่ 1 มกราคม เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ตัวอย่างเช่นการเซ็น อเลฮานโดร โดมิงเกซ ของบาเลนเซีย เป็นต้น... เพราะฉะนั้นน่าสนใจว่าก่อนหน้าจะถึงปีใหม่ จะมีสโมสรให้คว้าตัวนักเตะต่างชาติใครอีก... น่าติดตาม...



*(ภาพ) อเลฮานโดร โดมิงเกซ ของ บาเลนเซีย
blog comments powered by Disqus
ติดต่อ โฆษนา แนะนำ สอบถาม ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ได้ที่
 
Web Analytics